Nakhonsawan Chinese Newyear Festival
วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ประวัติความเป็นมาของการแห่มังกร
| ||||||
ตรุษจีนปากน้ำโพ นครสวรรค์
ต้นกำเนิดประเพณีแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากน้ำโพ
นครสวรรค์ เมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่ออีกชื่อที่คนทั่วไปรู้จักคือ 'ปากน้ำโพ' เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นครสวรรค์นับว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ ส่วนปากน้ำโพจัดเป็นศูนย์ลางทางการค้า เป้นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด
ชาวจีนหลายเชื้อสายที่อพยพเข้ ามาตั้งรกรากทำมาหากินจะอาศั ยอยู่ตามริมแม้น้ำ น่าน เรียกว่า 'แควใหญ่' และบริเวณ 'ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา' คือตลาด
ปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก
ปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก
บรรพบุรุษของชาวจีนนับถือเทพเจ้ า เมื่อมาตั้งรกรากที่ใด ได้อัญเชิญเอาเทพเจ้าที่ตนนับถื อติดตัวมาด้วย ชาวจีนในตลาดปากน้ำโพก็เช่นกัน พากันนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู- เจ้าแม่ทับทิม-เจ้าแม่สวรรค์ เมื่อมาอยู่ได้จัดตั้งศาลเพี ยงตาสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้ าพ่อ-เจ้า แม่ เพื่อกราบไหว้บูชา โดยตั้งขึ้น ๒ ศาล คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกของตลาดปากน้ำโพ และศาลเจ้าแม่หน้าผา ริมฝั่งแม่น้ำปิงที่บ้านหน้าผา ขึ้นไปทางเหนือของตลาดปากน้ำโพ
เมื่ออดีตประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิ วา ตกโรค ระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้นำเอา 'กระดาษฮู้' (กระดาษยันต์) จากศาลเจ้าไปเผาไฟแล้วเอาเถ้ ากระดาษมาชงน้ำดื่มทำให้ หายจากโรคระบาด เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว
องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมประจำปี 2553-2554 |
ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนในปากน้ ำโพจึงได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อ- เจ้าแม่ ทุกองค์แห่รอบตลาดปากน้ำโพ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกั นมากกว่า ๙๐ ปี เพื่อเป็นศิริมงคล และความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมื อนเทพเจ้าได้มาอวยชัยให้พรยังร้ านค้า อันเป็น แหล่งทำกิน ในพิธีจะมีขบวนแห่มากมาย อาทิ เช่น สิงโต จากคณะเชื้อสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม นางฟ้า ขบวนเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)