วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รวมภาพขบวนแห่ตรุษจีนนครสวรรค์



















คณะสิงโตนครสวรรค์


สิงโตกว๋องสิว




สิงโตปักกิ่ง





เสือไหหลำ 















เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากน้ำโพ


 เจ้าแม่กวนอิม


เจ้าพ่อกวนอู


เจ้าแม่ทับทิม

ประวัติความเป็นมาของการแห่มังกร





ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2506กรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่ ได้มีการเสนอการเชิดมังกรซึ่งชาวจีนทั่วไปถือว่ามังกรเป็นสิ่งสิริมงคลนำโชค ลาภและความผาสูขทั้งปวงมาสู่บ้านเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ชั้นสูง ขององค์จักรพรรดิ์จีนในอดีตเพิ่มขึ้นจากขบวนแห่ต่างๆ อีก 1ขบวนในปัจจุบันงานประเพณีเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพเป็นประเพณีที่สำคัญและมี ชื่อเสียงของจังหวัดโดยในงานประเพณีฯ นี้จะมีขบวนแห่แหนต่างๆ เช่น การเชิดสิงโต การแห่มังกรเฮ็งกอพะบู๊ เจ้าแม่กวนอิม เหล่านางฟ้า ล่อโก๊ว ไทเก๊ก และการแสดงอื่นๆแห่ไปตามถนนสายหลักในเขตเทศบาลเมืองฯ และรอบตลาดปากน้ำโพการแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก แพร่หลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดนครสวรรค์มาก คือ การแห่และเชิดมังกรทองซึ้งมีความยิ่งใหญ่มโหฬาร สวยงามวิจิตรตระการตาเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เนื่องจากในการเชิดมังกรทองของชาว ปากน้ำโพต้องใช้คนที่มีความชำนาญและต้องฝึกซ้อมมาดี ถึง150-170 คน ตัวมังกรยาว 57-60 เมตรและสวยงามด้วยลวดลายสีสรรตลอดจนตกแต่ประดับประดาด้วยไฟหลากสีตลอดลำตัว ลักษณะ การเชิดมังกรก็สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจ การแสดงมีทั้งการพันเสา การพ่นไฟพ่นน้ำ และบางปีก็ลงไปเล่นในแม่น้ำในลักษณะของการโผล่จากบาดาล อีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการแสดงเป็นการแสดงในสนามกีฬาประจำจังหวัด ประกอบแสงสี และเสียง และมีการแสดงอื่นๆ ประกอบรายการด้วยทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมการแห่มังกร นี้เป็นจำนวนมากและผู้ที่ได้ชมการแห่มังกรและการแสดงอื่นๆของงานฯ ส่วนใหญ่ต่างก็ประทับใจและยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นการแสดงที่ยิ่ง ใหญ่และสวยงามมาก






ตรุษจีนปากน้ำโพ นครสวรรค์

 ต้นกำเนิดประเพณีแห่เจ้าพ่อ  เจ้าแม่ปากน้ำโพ


    
        นครสวรรค์ เมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่ออีกชื่อที่คนทั่วไปรู้จักคือ 'ปากน้ำโพ' เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นครสวรรค์นับว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ ส่วนปากน้ำโพจัดเป็นศูนย์ลางทางการค้า เป้นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด
ชาวจีนหลายเชื้อสายที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินจะอาศัยอยู่ตามริมแม้น้ำ น่าน เรียกว่า 'แควใหญ่' และบริเวณ 'ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา' คือตลาด
ปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก

   บรรพบุรุษของชาวจีนนับถือเทพเจ้า เมื่อมาตั้งรกรากที่ใด ได้อัญเชิญเอาเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาด้วย ชาวจีนในตลาดปากน้ำโพก็เช่นกัน พากันนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู-เจ้าแม่ทับทิม-เจ้าแม่สวรรค์ เมื่อมาอยู่ได้จัดตั้งศาลเพียงตาสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้าพ่อ-เจ้า แม่ เพื่อกราบไหว้บูชา โดยตั้งขึ้น ๒ ศาล คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกของตลาดปากน้ำโพ และศาลเจ้าแม่หน้าผา ริมฝั่งแม่น้ำปิงที่บ้านหน้าผา ขึ้นไปทางเหนือของตลาดปากน้ำโพ

     เมื่ออดีตประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิวา ตกโรค ระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้นำเอา 'กระดาษฮู้' (กระดาษยันต์) จากศาลเจ้าไปเผาไฟแล้วเอาเถ้ากระดาษมาชงน้ำดื่มทำให้หายจากโรคระบาด เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว

องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมประจำปี 2553-2554
       
                   ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนในปากน้ำโพจึงได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ทุกองค์แห่รอบตลาดปากน้ำโพ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากกว่า ๙๐ ปี เพื่อเป็นศิริมงคล และความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือนเทพเจ้าได้มาอวยชัยให้พรยังร้านค้า อันเป็น แหล่งทำกิน ในพิธีจะมีขบวนแห่มากมาย อาทิ เช่น สิงโต จากคณะเชื้อสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม นางฟ้า ขบวนเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น